วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สุขบัญญัติ 10 ประการ

                                          สุขบัญญัติ 10 ประการ

                    สุขบัญญัติ 10 ประการ คือ ข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ จะเป็นคนมีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสมรรถภาพในการเรียน การทำงาน และ สุขบัญญัติ 10 ประการ  ยังช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยง่าย ๆ ด้วย  โดย สุขบัญญัติ 10 ประการ หรือ สุขบัญญัติแห่งชาตินี้ รัฐบาลได้ประกาศให้ดำเนินการและเผยแพร่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2539 ดังนั้นจึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 28 พฤษภาคม เป็น "วันสุขบัญญัติแห่งชาติ" อีกด้วย


                            >> สุขบัญญัติ 10 ประการ ประกอบไปด้วย <<

1.ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด ทำได้โดย


สระผม
สุขบัญญัติ 10 ประการ

- อาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรค
- ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน
- ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นอย่างเพียงพอ
- จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี 


แปรงฟัน
สุขบัญญัติ 10 ประการ

- แปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนนอน
- ถูหรือบ้วนปาก หลังทานอาหาร
- เลือกใช้ยาสีฟันและฟลูออไรด์
- หลีกเลี่ยงการทานลูกอม ลูกกวาด ท็อฟฟี่ ขนมหวานเหนียวต่างๆ เพื่อป้องกันฟันผุ
- ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- ไม่ควรใช้ฟันกัดขบของแข็ง

3.ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
 




สุขบัญญัติ 10 ประการ

- ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการเตรียม ปรุง และรับประทานอาหาร รวมทั้งหลังการขับถ่าย

4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด


ทำอาหาร
สุขบัญญัติ 10 ประการ

- เลือกซื้ออาหารสด สะอาด ปลอดสารพิษ โดยคำนึงหลัก 3 ป คือ ประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัด
- ปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และใช้เครื่องปรุงรสที่ถูกต้อง โดยคำนึงหลัก 3 ส คือ สงวนคุณค่า สุกเสมอ และสะอาดปลอดภัย
- ทานอาหารที่มีการจัดเตรียม การประกอบอาหาร และใส่ในภาชนะที่สะอาด
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 
- รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการทุกวัน
- ทานอาหารปรุงสุกใหม่ รวมทั้งใช้ช้อนกลางในการทานอาหารร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารรสจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารใส่สีฉูดฉาด
- ดื่มน้ำสะอาดทุกวัน อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- ทานอาหารให้เป็นเวลา

5.งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ


สูบบุหรี่
สุขบัญญัติ 10 ประการ

      ผู้ที่จะมีสุขภาพดีตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ ต้องงดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดใช้สารเสพติด งดเล่นการพนัน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมค่านิยม รักนวลสงวนตัว และมีคู่ครองเมื่อถึงวัยอันควร

6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 



สุขบัญญัติ 10 ประการ 

- ให้ทุกคนในครอบครัวช่วยกันทำงานบ้าน
- สมาชิกทุกคนในครอบครัวควรปรึกษาหารือ และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- เผื่อแผ่น้ำใจให้กันและกัน
- จัดกิจกรรมสนุกสนานร่วมกัน
- ชวนกันไปทำบุญ

7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท 

- ระมัดระวังป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดภายในบ้าน เช่น เตาแก๊ส ไฟฟ้า ของมีคม ธูปเทียน ฯลฯ
- ระมัดระวังในการป้องกันอุบัติภัยในที่สาธารณะ เช่น ปฏิบัติตามกฏของการจราจรทางบก ทางน้ำ ป้องกันอันตรายจากโรงฝึกงาน ห้องปฏิบัติการ เขตก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการชุมนุมห้อมล้อม ในขณะเกิดอุบัติภัย 

8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี 


ออกกำลังกาย
สุขบัญญัติ 10 ประการ

- ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
- ออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและวัย
- ตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 


อ่านหนังสือ
สุขบัญญัติ 10 ประการ

- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างต่ำ 8 ชั่วโมง
- จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน และที่ทำงานให้น่าอยู่
- หาทางผ่อนคลายความเครียด เมื่อมีปัญหา หรือเรื่องไม่สบายใจรบกวน อาจหางานอดิเรกทำ ใช้เวลาว่างไปกับการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์
- ช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา

10.มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม

- กำจัดขยะภายในบ้าน และทิ้งขยะในที่รองรับ
- หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น
- มีและใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
- กำจัดน้ำทิ้งในครัวเรือนและโรงเรียนด้วยวิธีที่ถูกต้อง
- ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
- อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น ชุมชน ป่า น้ำ และสัตว์ป่า เป็นต้น

       --------------------------------------------------------------------------------------
                                                     THE END :')

นิยามความหมายของคำว่า " สุขภาพ "



                                      นิยามความหมายของคำว่า " สุขภาพ "






นิยามความหมายของคำว่า " สุขภาพ "

         สุขภาพ
 คือ ภาวะแห่งความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรค หรือทุพพลภาพเท่านั้น (องค์การอนามัยโลก , 2491)

      จากคำจำกัดความนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาวะของความไม่มีโรคหรือไม่บกพร่องยังไม่ถือว่ามีสุขภาพ แต่สุขภาพมีความหมาย เชิงบวกที่เน้นความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม นั่นคือ ต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางสังคมครบทุกด้าน 

ก่อน พ.ศ. 2500 เราใช้คำว่าสุขภาพน้อยมาก เพราะขณะนั้นเราใช้คำว่า “อนามัย” เริ่มใช้ “สุขภาพ” แทน ในสมัยต่อมาก็เนื่องจากคำว่า อนามัย(อน + อามัย) ซึ่งตามรูปทรัพย์หมายถึง "ความไม่มีโรค" ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าสุขภาพมีความหมายกว้างกว่าอนามัย เพราะสุขภาพเป็นความสุข เป็นความหมายเชิงบวก ตรงข้ามกับอนามัยเป็นความทุกข์ซึ่งมีความหมายเชิงลบ

    แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพในอนาคตอาจจะปรับเปลี่ยนไปจากนี้ได้ เนื่องจากในที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ได้ตกลงว่าจะเติมคำว่า “Spiritual Well-being” เข้าไปใน คำจำกัดความของคำว่าสุขภาพ

    นิยามคำว่าสุขภาพแบบไทย ควรเพิ่ม “Intellectual Well-being” เข้าไปอีกด้วย โดยมีแนวความคิดสุขภาพก็คือ สุขภาวะ หรือ Well-being ความสุข คือ ความเป็นอิสระหรือการหลุดพ้นจากความบีบคั้น ดังนั้น สุขภาพคือสุขภาวะหรือความเป็นอิสระหลุดพ้นจากความบีบคั้นทางกายทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา 

-  สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่มีความเจริญเติบโต แต่พัฒนาการสมกับวัย สะอาด แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และทุพพลภาพ พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันโรคหรือความต้านทานโรคเป็นอย่างดี

-  สุขภาพจิต หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวของคนเราให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งสถานการณ์ในอดีตและอนาคตด้วย

** ดังนั้น ** สุขภาพ หมายถึง ภาวะของการดำรงชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจรวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยดี อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม และการใช้สติปัญญา ...


- พักผ่อน ดีต่อสุขภาพ -

>> การพักผ่อน (Rest) <<
            "การพักผ่อน" หมายถึง การหยุดพักการปฏิบัติกิจกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะความตึงเครียดหรือความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจของเรา 

             การพักผ่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ทุกคน มีอยู่หลายลักษณะ ทั้งการหยุดพักชั่วคราวขณะปฏิบัติกิจกรรม การนอน - หลับ และรวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินด้วย  เช่น  การปั่นจักรยาน การร้องเพลง เป็นต้น
>> ประโยชน์จากการพักผ่อน <<

   
1). อวัยวะต่างๆในร่างกายได้พักผ่อน ขณะที่เรานอนหลับ ร่างกายจะผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตจะลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ
ในร่างกายจะลดลง จึงถือว่าอวัยวะต่างๆได้พักผ่อนไปด้วย  หลังจากนอนหลับอย่างเพียงพอจะมีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าเมื่อตื่นขึ้นมาและพร้อมที่จะปฏิบัติกิจงานต่างๆ 


2.) คลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ขณะที่เราปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เนื่องจากมีการใช้พลังงานของร่างกาย ทำให้พลังงานในกล้ามเนื้อมีปริมาณลดลง รวมทั้งจะมีการสะสมของเสีย ได้แก่ กรดแลคติก ในเซลล์กล้ามเนื้อและในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง แต่ถ้ามีการหยุดพักชั่วขณะหนึ่งหรือเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะๆ จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้ผ่อนคลาย 

3.) ผ่อนคลายความเครียด จากการปฏิบัติภารกิจการงายต่างๆแต่ละวัน โดยเฉพาะการปฏิบัติงานที่ซ้ำซากเหมือนเดิมทุกวัน แม้กระทั่งการเรียนหนังสืออย่างขยันขันแข็ง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนโดยการปฏิบัติกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินในเวลาว่างหรือเมื่อเวลาทำงาน-หนักมา จะช่วยผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นลงไปได้ 
>> การนอนหลับ  <<

          การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่จำเป็นสำหรับคนทุกวัย  การนอนหลับที่ดีจะต้องหลับสนิทติดต่อกันไป การนอนหลับมีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมซึ่งบุคคลในแต่ละวัยจะมีความต้องการระยะเวลาในการนอนหลับ ดังนี้ 

1.) ทารกแรกเกิด- 1 ปี  ประมาณวันละ 18-20 ชม.   
2.) เด็กอายุ 1-4 ปี ประมาณวันละ 11-12 ชม.  
3.) เด็กอายุ 5-12 ปี ประมาณวันละ 9-10 ชม. 
4.) วัยรุ่นอายุ 13-19 ปี  ประมาณวันละ 8-10 ชม 
5.) วัยผู้ใหญ่ อายุ 20-59 ปี  ประมาณวันละ 7-8 ชม.   
6.) ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  ประมาณวันละ 9-10 ชม. 


>> ลักษณะของการพักผ่อน <<


การพักผ่อนแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1.) การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ทุกคน 
2.) การหยุดพักชั่วคราวขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  การที่เราปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ต่อเนื่องกันไป จะทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าขึ้น จึงจำเป็นต้องหยุดพักสักระยะหนึ่งหรือเปลี่ยนอิริยาบทจากเดิมสักครู่ เช่น หากนั่งทำงานมาเป็นเวลานานก็ควรลุกขึ้นยืนยืดเส้นยืดสายบ้าง
3.) การทำกิจกรรมต่างๆที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน  เช่น ออกกำลังกาย  ปลูกต้นไม้  วาดภาพ  ร้องเพลง  เดินทางไปท่องเที่ยว ก็จะช่วยผ่อนคลายความเครียดของร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติภารกิจการงานได้


         -----------------------------------------------------------------------------------------------------

                                                          THE END :)